Coding Gun

Software Testing พื้นฐาน

จุดประสงค์ของการทำการทดสอบคือ

  1. เราต้องการความมั้นใจในการใช้งาน Software(ใช้ไปแล้วจะไม่มี Bug หรือ Defect เกิดขึ้น)
  2. เราต้องแน่ใจว่า software ของเรานั้นสามารถรองรับ user ที่เรามีอยู่ทั้งหมดได้
  3. เราต้องแน่ใจว่า Software ของเราสามารถตอบสนองความต้องการของ Business ได้
  4. เราต้องแน่ใจว่า software ที่เราได้นั้นมีความปลอดภัย

ซึ่งการทำการทดสอบซอฟต์แวร์(Software Testing) จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้

Black Box vs White Box

ในการทดสอบซอฟต์แวร์เราจะแบ่งรูปแบบของการทดสอบออกเป็น 3 ประเภทย่อยๆ ตามข้อมูลที่เรามี โดยเราจะแบ่งออกเป็น

Black-box Testing

Black-box testing เป็นการทดสอบตาม Spec เป็นหลักเรียกว่าเป็น Spec-based คือเราจะดูจาก requirements spec ว่ามี feature การทำงานยังไงบ้างแล้วก็ทำการทดสอบตามนั้น ดังนั้นการทดสอบประเภทนี้เราจะไม่ได้สนใจว่า source code เขียนไว้ยังไง เหมือนกล่องดำที่เราไม่สนใจว่าข้างในมีอะไรเราจะสนใจเฉพาะ input และ output ที่ได้จากกล่องดำ(blackbox นั้นเท่านั้น)

ข้อดี ข้อเสีย
เป็นการทดสอบที่สามารถทำได้รวดเร็ว ไม่ได้การันตีว่าเราจะ test ครบทุกส่วนของโปรแกรม
ไม่ต้องเปิดเผย Source Code ผลลัพธ์ของการทดสอบจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับความรู้และความเชี่ยวชาญของ tester
เป็นมุมมองของ User เป็นหลัก การทดสอบโดยส่วนใหญ่ tester จะมีความรู้ในระบบน้อย

White-box Testing

White-box testing หรือ Crystal-box testing เป็นการทดสอบที่เรามีข้อมูลทุกอย่างที่อยากรู้เราจึงเขียน Test-cases โดยอ้างอิงตาม source code

ข้อดี ข้อเสีย
สามารถค้นหา Error ได้ดีกว่า black-box ต้องสามารถเข้าถึง Source code ได้
เป็นมุมมองของ Developer เป็นหลัก ไม่สามารถค้นหาส่วนที่ยังไม่ได้เขียน code ได้
เราสามารถทดสอบ Code ได้ทุกบรรทัด ต้องใช้ Developer เป็นคนเขียน Test-case ซึ่งจะเป็น resource ที่หาได้ยาก

ในการทดสอบแบบ whitebox เราจะเน้นที่ path coverage(การทดสอบให้ครอบคลุมทุกบรรทัดของ source code)

Gray-box testing

การทดสอบแบบ Gray-box จะเป็นการทดสอบที่ผสมกันระหว่าง Black-box และ White-box นั่นคือเราจะได้ข้อมูลมากกว่า Black-box เช่น Network diagram, Software Architecture และอื่นๆ แต่จะไม่เห็น source code เหมือนกัน White-box ซึ่งการทดสอบแบบ Gray-box จะเปิดเผยอะไรบ้างขึ่นอยู่กับการตกลงกันของผู้รับจ้างและผู้จ้าง

Functional tests vs Non-Functional tests

การทดสอบ Software นั้นเราจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆคือ

  1. Functional tests ที่สนใจการทำงานของระบบเป็นหลัก จะเน้นที่การทำงานได้ของระบบ ซึ่งเราจะมองใน 2 มิติ
    • Verification การทดสอบว่าระบบนั้นสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่
    • Validation การทดสอบว่าระบบนั้นได้ตอบโจทย์ของ Business หรือ Requirements ที่เราให้ไปตั้งปแต่ต้นหรือไม่
  2. Non-functional tests เป็นการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบนั้นมีคุณภาพที่เพียงพอ เช่น
    • Load test ทดสอบว่าเมื่อนำระบบนี้ไปใช้งานจริงจะสามารถรองรับความต้องการของ User ที่เราคาดว่าจะเข้ามาใช้ระบบได้ (เมื่อนำขึ้นไปใช้งานจริงจะไม่ล่ม ไม่ down นั่นเอง)
    • Security Testing ทดสอบว่าระบบนั้นมีความปลอดภัยมากเพียงพอ และข้อมูลที่อยู่ในระบบนั้นมีความปลอดภัย ไม่สามารถถูกเจาะได้ง่ายๆ

Test Pyramid

Testing pyramid คือการเปรียบเทียบปริมาณของ Testing ในกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ

  1. Unit Testing เป็นการทดสอบที่สนใจเฉพาะการทำงานของ Code ที่เราเขียนว่าถูกต้องหรือไม่ โดยที่จะไม่เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆเลย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับ Mail server หรือ Database
  2. Service-level tests หรือ Integration Test เน้นที่การเชื่อมต่อทั้งกับ database และระบบอื่นๆที่เราต้องเข้าไปคุยด้วย แต่ใน Layer นี้ก็อาจยังไม่ได้สนใจการทำงานจริงๆทั้งระบบ(Workflow) ดังนั้นการทดสอบใน layer นี้จะยังไม่ได้เชื่อมต่อกับ Ingrastructure พื้นฐานเช่น การส่ง Mail ผ่าน Mail server จริง หรือเชื่อมต่อกับระบบภายนอก(Third-party)
  3. UI Tests หรือ End-to-End Tests เป็นการทดสอบโดยจำลองการทำงานจริง ใน layer นี้จะ focus ที่ระบบใช้งานได้จริง ทดสอบกับ workflow การทำงานจริงๆ
    Test Pyramid
    Test pyramid สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์

ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ทั้ง Tester และ Developer จะต้องให้น้ำหนักในการทำงานให้เป็นไปตามรูปนี้คือให้ความสำคัญกับ Unit test มากๆ เพราะคุณใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาปรุงอาหาร อาหารนั้นก็จะมีคุณภาพตามไปด้วย ส่วน UI testing หรือ End-to-End testing ก็จะให้ความสำคัญน้อยที่สุดเพราะ UI และ Workflow สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา(sensitive) ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้อง test ซ้ำใหม่เสมอ(regression test) เราเลยจะให้นำ้หนักกับ layer นี้น้อยที่สุด

Microservices Testing

การทดสอบบน Microservices นั้่นจะแตกต่างจากการทดสอบบบน Monolith เพราะใน Microservices จะมี communication ระหว่าง services เยอะมากๆดังนั้นปริมาณของการทดสอบจึงไปอยู่ในส่วนของ Integration Testing เป็นหลัก ดังนั้น shape ของการทดสอบจะเปลี่ยนจาก Pyramid shape กลายเป็น Honeycomb shape ดังรูป

Software Testing in Microservices
การทำ Software Testing ใน Microservices

ทำ Load Test ด้วย Apache Bench(ab)
Apr 15, 24

testing

ทำ Load Test ด้วย Apache Bench(ab)
Apache Bench คือเครื่องมือสำหรับทำ Load Test และ Stress Test โดยที่จะมีวิธีการติดตั้งและใช้งานดังนี้
ทำ Load test ด้วย wrk
Apr 15, 24

testing

ทำ Load test ด้วย wrk
ลองมาดูวิธีการทำ Load Testing ด้วย wrk command line ตัวจิ๋วที่แจ๋วใช้ได้
การทำ Load Test ด้วย Locust
Oct 23, 23

testing

การทำ Load Test ด้วย Locust
Locust คือ เครื่องมือในการทำ Load test ที่เป็น opensource ที่พัฒนาขึ้นมาด้วย Python สามารถใช้งานได้ฟรี
การทำ Distributed load test บน Kubernetes cluster
Oct 22, 23

testing

การทำ Distributed load test บน Kubernetes cluster
การทำ Distributed load test คือการทำ load test จากหลายๆเครื่องพร้อมๆกัน ตัวอย่างนี้เราจะใช้ Kubernetes ในการทำ distributed load test
รวมการทำ Software Testing แบบต่างๆ
Jun 7, 23

testing

รวมการทำ Software Testing แบบต่างๆ
ถ้าใครกำลังสงสัยว่าการทดสอบ(software testing)แบบไหน มีไว้ทำอะไร ลองอ่านบทความนี้แล้วคุณจะเข้าใจการ testing มากขึ้น
Phanupong Permpimol
Follow me

Software Engineer ที่เชื่อในเรื่องของ Process เพราะเมื่อ Process ดี Product ก็จะดีตาม ปัจจุบันเป็นอาจารย์และที่ปรึกษาด้านการออกแบบและพัฒนา Software และ Web Security